หลักการที่ 10 : ความร่วมมือระหว่างประเทศ
"ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาของระบบสถิติทางการ
ในทุกประเทศ"
•เพื่อให้ได้ตัวอย่างรูปแบบและวิธีการในการดำเนินงานทางสถิติที่ดีที่สุด และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
•เพื่อรับประกันถึงความยั่งยืนในการดำเนินงาน จึงจำเป็นต้องสร้างความสามารถด้านสถิติขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการผลิตสถิติ
ให้มีคุณภาพ
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหน่วยสถิติที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นใจในการนำความรู้ทางสถิติไปใช้ประโยชน์
•กรอบตามกฎหมาย
•การประยุกต์ใช้กรอบและแผนความร่วมมือระหว่างประเทศ
•กลยุทธ์และการจัดการองค์กรของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเรื่องความร่วมมือทางสถิติ
•การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยสถิติประเทศต่าง ๆ
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและอุปสรรคต่างๆ ในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศของหน่วยสถิติและหน่วยงานระดับ
พหุภาคีจะส่งผลให้ขาดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เกณฑ์ปฏิบัติที่ดี ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสถิติ
ระหว่างกัน โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสถิติให้มีมาตรฐานคุณภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนา
หน่วยสถิติและระบบสถิติของประเทศ