หลักการที่ 1 : ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เป็นกลาง และเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
"สถิติทางการเป็นส่วนหนึ่งของระบบข้อมูลสารสนเทศที่ขาดเสียมิได้ของสังคมประชาธิปไตย ที่ให้บริการข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ประชากร สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อรัฐบาลและประชาชน ด้วยเหตุนี้สถิติทางการต้องเก็บรวบรวมและจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นกลาง โดยหน่วยสถิติต้องพึงเคารพสิทธิของประชาชนในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลสถิติและสารสนเทศ"
ประกอบด้วย
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
"การที่ข้อมูลสถิติสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารถกำหนด/ระบุระดับความสอดคล้องได้"
-
o เพื่อผลิตสถิติที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในทุกระดับ ทั้งระดับรัฐบาล ระดับหน่วยงาน และประชาชนทั่วไป
o เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของผู้ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป
หน่วยสถิติควรมีการหารือกับผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องและสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ พร้อมทั้งมีการอภิปรายเรื่องระเบียบวิธีทางสถิติและการวิจัยในการผลิตร่วมกับหน่วยงานทางวิชาการสถิติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
1.กรอบทางกฎหมาย
2.การปรึกษาหารือผู้ใช้
3.แผนการทำงาน
4.การแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ

หน่วยสถิติถูกคาดหวังในเรื่องการให้บริการสถิติที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นหากสถิติทางการที่ผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการอาจเป็นการบั่นทอนบทบาท การทำงานของหน่วยสถิติและส่งผลให้อยู่ในสถานะ“หน่วยงานชายขอบ” ซึ่งหมายถึง หน่วยงานที่ถูกลดทอนอำนาจและบทบาททางสังคม

มีความเป็นกลางและเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
"ความเป็นอิสระในวิชาชีพของหน่วยสถิติ ความสามารถทางวิชาการของเจ้าหน้าที่ และความเป็นกลางคือสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในสถิติทางการ"
-
o เพื่อให้บริการข้อมูลแก่ภาครัฐ ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สามารถใช้สถิติทางการเพื่อติดตามนโยบายการพัฒนาของประเทศไทย o เพื่อผลิตสถิติโดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมืองหรือกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์ o เพื่อพัฒนา รวบรวม และเผยแพร่ด้วยวิธีการทางสถิติที่มีการพิจารณาการเลือกข้อมูลและวิธีการต่างๆอย่างเป็นกลาง
-
-
ความเป็นอิสระคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน่วยสถิติได้รับความเชื่อถือจากผู้ใช้ และก่อให้เกิดการเคารพและความไว้วางใจซึ่งกันแลนกัน ดังนั้น ในการผลิตสถิติความเป็นอิสระในวิชาชีพและมีความเป็นกลางตลอดทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา การเก็บรวบรวม และการเผยแพร่สถิติทางการ โดยเฉพาะในขั้นตอนการพัฒนา ควรมีการปรึกษาหารือกับผู้ใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่าผลผลิตตรงตามความต้องการและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเรื่องวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มความโปร่งใส คุณภาพ และการให้การสนับสนุนที่จำเป็น นอกจากนี้ ในกระบวนการเก็บรวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูลควรปราศจากการแทรกแซงใดๆ ประกอบด้วย
-
1.กรอบทางกฎหมาย
-
2.ความเป็นอิสระในวิชาชีพของหน่วยสถิติ
-
3.การเก็บรวบรวมสถิติ/การปฏิบัติทางสถิติ
-
4.ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบวิธีสถิติและกระบวนการที่ใช้ในการผลิตสถิติ
-
5.การเผยแพร่สถิติ
-
6.การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม
-
7.แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
-
8.การให้บริการสถิติเพิ่มเติม
-
9.ระบบทรัพยากรบุคคล
-
- การขาดความเป็นอิสระในวิชาชีพของหน่วยสถิติและผู้บริหารสูงสุด และการขาดความสามารถทางวิชาการของเจ้าหน้าที่และความเป็นกลางอาจทำให้ความน่าเชื่อถือของสถิติทางการลดลง และหากนำสถิติดังกล่าวไปใช้ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของนโยบายด้วย
